วิธีใช้นิ้วมือ ช่วยในการจำค่าตรีโกณมิติของมุมพื้นฐานวิธีการ
ใช้มือจำค่าตรีโกณมิติของมุมพื้นฐานคือ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- แบมือซ้ายออกมา มองเลขมุมจับคู่กับนิ้ว เรียงจากซ้ายไปขวา เป็นมุม องศา
- เมื่อต้องการหาค่าตรีโกณมิติของมุมใดให้งอนิ้วนั้น สมมติว่าหา ก็จะตรงกับนิ้วชี้ ก็งอนิ้วชี้เก็บไว้
- ถือกฎว่า sin (ออกเสียงคล้าย ซ้าย ) cos (ออกเสียงคล้าย ขวา) เมื่อหาค่าของฟังก์ชันใดให้สนใจจำนวนนิ้วมือฝั่งที่สอดคล้องกับฟังก์ชันนั้น
- เพื่อจะหาค่า นำจำนวนนิ้วมือด้านที่สนใจติดรากที่สองแล้วหารด้วยสอง (หรืออาจจำว่ามีเลขสองตัวใหญ่ๆ อยู่บนฝ่ามือ เมื่ออ่านก็จะเป็น รากที่สองของจำนวนนิ้วมือด้านที่สนใจ หารฝ่ามือ)
- สำหรับ ก็จะได้ว่ามีนิ้วมือเหลืออยู่ทางด้านขวาอีกสามนิ้ว (กลาง นาง ก้อย) ก็จะได้ สำหรับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นก็ใช้สมบัติของฟังก์ชันนั้นกับ sin และ cos เช่น
นี่เป็นเทคนิคการจำค่ามุม sin cos และ tan นะค่ะ แบบสรุปก็คือ
1. ใช้มือซ้ายหันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง ถ้าต้องการหา sin ให้หักทีละนิ้วจากซ้ายไปขวา แต่ละครั้งให้หารด้วย 2
- หัวนิ้วโป้ง หมายถึง sin 0 องศา มีค่าเท่ากับ root 0/2 = 0
- หักนิ้วชี้ หมายถึง sin 30 องศา มีค่าเท่ากับ root 1/2
- หักนิ้วกลาง หมายถึง sin 45 องศา มีค่าเท่ากับ root 2/2
- หักนิ้วนาง หมายถึง sin 60 องศา มีค่าเท่ากับ root 3/2
- หักนิ้วก้อย หมายถึง sin 90 องศา มีค่าเท่ากับ root 4/2 = 1
2. ถ้าต้องการหา cos ให้หักทีละนิ้วจากขวาไปซ้าย แต่ละครั้งให้หารด้วย 2 เช่นเดียวกัน
- หักนิ้วก้อย หมายถึง cos 0 องศา มีค่าเท่ากับ root 4/2 = 1
- หักนิ้วนาง หมายถึง cos 30 องศา มีค่าเท่ากับ root 3/2
- หักนิ้วกลาง หมายถึง cos 45 องศา มีค่าเท่ากับ root 2/2
- หักนิ้วชี้ หมายถึง cos 60 องศา มีค่าเท่ากับ root 1/2
- หักนิ้วโป้ง หมายถึง cos 90 องศา มีค่าเท่ากับ root 0/2 = 0
3. ถ้าต้องการหา tan ให้นำค่าที่ได้จากการหาในข้อ 1. และ ข้อ 2. มาหารกัน
เนื่องจากความสัมพันธ์ของ tan = sin/cos ยกตัวอย่างเช่น
ต้องการหา tan 60 องศา = sin 60 / cos 60 = root 3/2 หารด้วย root 1/2 = root 3
** อย่าลืมนะว่า sin จากซ้ายไปขวา cos จากขวาไปซ้าย
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น